ประวัติความเป็นมา
ข้อมูลพื้นฐาน ของสถานศึกษา และความเป็นมาของสาขาวิชา
ปัจจุบันแนวโน้มการใช้ยานพาหนะในการเดินทางเริ่มเปลี่ยนแปลงจากการใช้เครื่องยนต์แบบสันดาปซึ่งมีการเผาไหม้ เชื้อเพลิงฟอสซิล (Fossil Fuel) ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยการปล่อยมลพิษทางอากาศ ฝุ่น ควันและเสียง ทำให้เกิด สภาวะโลกร้อน มาเป็นยานพาหนะที่ใช้พลังงานไฟฟ้ามากขึ้น เช่น รถยนต์ไฟฟ้า จักรยานยนต์ไฟฟ้า จักรยานไฟฟ้า สกู๊ตเตอร์ (Scooter) เซกเวย์ (Segway) เป็นต้น ในหลายๆ ประเทศเริ่มมีการส่งเสริมให้มีการผลิตและใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า (Electrical Vehicle: EV) มากขึ้น ได้แก่ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา จีน อังกฤษ แคนาดา ไต้หวัน ซึ่งมีนโยบายสนับสนุน เช่น ปลอดภาษีในการซื้อรถไฟฟ้า ลดราคาค่าไฟฟ้า หรือสามารถกู้เงินเพื่อซื้อยานยนต์ไฟฟ้าในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ตลอดจนหาสถานี ชาร์จไฟฟ้าเพื่อสนับสนุนการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น นอกจากนั้นบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่ลงทุนจาก ต่างประเทศ เช่น เครือโตโยต้า เริ่มมีการปรับตัวโดยมีการวิจัยทางด้านยานยนต์ไฟฟ้าร่วมกับบริษัทภายนอกและมีการปรับ บทบาทของผู้ผลิต (supplier) ตลอดจนปรับตัวเป็นผู้ให้บริการด้านยานยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยียานยนต์ ไฟฟ้าจำเป็นต้องอาศัยชิ้นส่วนและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีความซับซ้อนและใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และ ทักษะให้เกิดความก้าวหน้าที่จะสามารถพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็วและ มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบ อย่างมากต่อการผลิตชิ้นส่วนเครื่องยนต์สันดาปภายใน โดยเฉพาะกลุ่มระบบส่งกำลังหรือเครื่องยนต์ เช่น หม้อน้ำ ท่อไอเสีย ระบบหัวฉีด และถังน้ำมัน ดังนั้นความชัดเจนของนโยบายการส่งเสริมของภาครัฐจึงมีความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของ อุตสาหกรรมยานยนต์ที่กำลัง จะเกิดขึ้น
ในปัจจุบันจึงเห็นได้อย่างชัดเจนว่าแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อ การใช้งานมีมากขึ้น วิทยาลัยเทคนิคภูเก็ตจึงเล็งเห็นความสำคัญในการเปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทวิชาอุตสาหกรรม สาขางานยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อผลิตและพัฒนากำลังให้เพียงพอและตรงกับ ความต้องการของตลาดแรงงานด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าที่กำลังขยายตัวเพิ่มมากขึ้น โดยวิทยาลัย จะเปิดรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 (ม.3) เข้าศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชายานยนต์ไฟฟ้า ปีการศึกษาละ 40 คน จัดการศึกษาในระบบทวิภาคี