⚙ หลักสูตรสาขาวิชายานยนต์ไฟฟ้า (ปวช.)

           ตามแผนยุทธศาสตร์ยกระดับอุตสาหกรรมในประเทศเพื่อนำประเทศไทยก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0 โดยมีโครงการพัฒนาเศรษฐกิจระดับประเทศ อย่างเช่นโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC เป็นภารกิจหลักในการขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมาย โดยกำหนด 10+2  อุตสาหกรรมเป้าหมายหรือ S-curve ขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมและเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศมาร่วมลงทุนในภาคอุตสาหกรรมซึ่งการบรรลุตามยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจระดับประเทศที่กล่าวมา จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยบุคลากรที่เชี่ยวชาญและแรงงานวิชาชีพเฉพาะทาง ที่มีทักษะตรงตามความต้องการของแต่ละภาคอุตสาหกรรม ด้วยเหตุนี้ทางภาคอุตสาหกรรม สถานประกอบการ และภาคการศึกษา จึงต้องร่วมมือกันปฏิวัติระบบการศึกษาไทย ให้มีรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการผลิตบุคลากรวิชาชีพคุณภาพมากขึ้น เพื่อพัฒนาบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง

          จากแนวโน้มของโลกที่จะก้าวไปสู่สังคมที่สะอาดมากขึ้น ระบบการขนส่งและการพัฒนาด้านยานยนต์ได้ถูกมีแนวทางที่จะพัฒนาไปสู่ระบบไฟฟ้าเป็นส่วนใหญ่ในอนาคต ทำให้การขยายตัวทางด้านยานยนต์ไฟฟ้ามีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นจึงส่งผลต่อความต้องการกำลังคนที่มีความรู้ความสามารถความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับด้านดังกล่าว  เพื่อเป็นการสนองนโยบายตามยุทธศาสตร์ชาติที่ 2 ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน มีเป้าหมายการพัฒนาที่มุ่งเน้นการยกระดับศักยภาพของประเทศในหลากหลายมิติ และยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้าน การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญเพื่อนำไปสู่การ บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติ ทั้งทางด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านสิ่งแวดล้อม หลักธรรมาภิบาล และความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างกันทั้งภายในและภายนอกประเทศอย่างบูรณาการ

               ดังนั้น สาขาวิชาเทคนิคยนยนต์ไฟฟ้า วิทยาลัยการอาชีพขอนแก่น ได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว โดยสอดคล้องกับนโยบาย กระทรวงศึกษาธิการ นโยบายที่ 4 การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน จึงมีการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2563 (เพิ่มเติม พ.ศ.2566) เพื่อเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนอาชีวศึกษา และยกระดับคุณวุฒิวิชาชีพในด้านยานยนต์ไฟฟ้า ให้กับนักเรียนที่จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือ เทียบเท่า เพื่อให้สอดคล้องและสามารถรองรับกับตลาดแรงงาน สภาพเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และ สิ่งแวดล้อมตามแผนยุทธศาสตร์การผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพและความสามารถความเชี่ยวชาญ ในสภาวะการแข่งขันที่สูงขึ้นในระบบเศรษฐกิจ และเพื่อสร้างบุคลากรของชาติ ให้มีความรู้ความสามารถ และมีทักษะที่จำเป็นมีสมรรถนะตรง ตามความต้องการของตลาดงาน ในการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ