ความเป็นมาของสาขาวิชาเทคนิคยานยนต์ไฟฟ้า
จากการศึกษาค้นคว้าสมรรถนะของช่างฝีมือแรงงานระดับกลาง กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า พบว่า
1. อนาคตภาพสมรรถนะของช่างฝีมือ แรงงานระดับกลาง กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ในสมรรถนะขั้นพื้นฐาน ด้านทักษะและการปฎิบัติงาน พบว่าช่างฝีมือแรงงานระดับกลางจำเป็นต้องมีสมรรถนะ ได้แก่ สามารถประยุกต์ความรู้และผสมผสานใช้ในการ ปฏิบัติงานจริงได้มีความรู้ด้านวิชาชีพในสายงานด้าน ยานยนต์ไฟฟ้า มีทักษะการปฏิบัติงานวิชาชีพด้าน ยานยนต์ไฟฟ้า สามารถนำนโยบายของผู้บังคับบัญชา มาปฏิบัติได้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างแคล่วคล่อง และแม่นยำ สามารถปฏิบัติงานได้ตามที่กำหนดไว้ได้ มีความชำนาญในการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ด้านยานยนต์ไฟฟ้ามีทักษะในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน มีความสามารถวางแผนงาน และวิเคราะห์งานที่ได้รับมอบหมายได้อย่างดีสามารถ ถ่ายทอดความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบเอาใจใส่งานที่ได้รับมอบหมาย มีความ คิดสร้างสรรค์ในการพัฒนางานที่รับผิดชอบ มีความ สามารถแสวงหาความรู้ใหม่เพื่อพัฒนางาน และ ความสามารถปฏิบัติงานได้ในสถานการณ์ที่กดดัน
2. อนาคตภาพสมรรถนะของช่างฝีมือ แรงงานระดับกลาง กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ในสมรรถนะขั้นพื้นฐานด้านความรู้ทางวิชาการ พบว่า ช่างฝีมือแรงงานระดับกลางจำเป็นต้องมีสมรรถนะดังนี้ มีความรู้การวางแผนและควบคุมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า มีความรู้เกี่ยวกับการซ่อมบำรุง ได้แก่ มอเตอร์ ไฟฟ้า ชุดแบตเตอรี่ อุปกรณ์ประจุไฟฟ้า อินเวอร์เตอร์ คอมเพรสเซอร์เครื่องปรับอากาศแบบไฟฟ้าชุดควบคุม อิเล็กทรอนิกส์เป็นต้นมีความรู้เรื่องการควบคุมคุณภาพ ในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า เช่น ควบคุมอุณหภูมิ การทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆควบคุมการเก็บเกี่ยว พลังงานจากการลดความเร็ว และควบคุมระบบต่าง ๆ ให้ทำงานสอดคล้องกัน เป็นต้น มีความรู้ในการวิจัย และพัฒนาด้านยานยนต์ไฟฟ้า มีความรู้การออกแบบทางอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้ามีความรู้เรื่องเทคโนโลยี และคอมพิวเตอร์ด้านยานยนต์ไฟฟ้า มีความรู้บำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ยานยนต์ไฟฟ้าและมีความรู้ทางภาษาต่างประเทศ
3. อนาคตภาพสมรรถนะของช่างฝีมือ แรงงานระดับกลาง กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ในสมรรถนะส่วนบุคคล ด้านมนุษย์สัมพันธ์และการพัฒนาตนเอง พบว่าช่างฝีมือแรงงานระดับกลาง จำเป็นต้องมีสมรรถนะดังนี้ความสามารถในการปรับตัวเข้ากับผู้อื่น รับฟังข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของผู้อื่น สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน สามารถสื่อสารที่ดีให้ผู้อื่น หรือเพื่อนร่วมงานมีส่วนร่วมสร้างผลงาน มีการพัฒนาตนเองตลอดเวลา มีการทำงานเป็นทีม การมีทัศนคติ ที่ดีต่องานที่ได้รับมอบหมายผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน สามารถสร้างแรงจูงใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความสามารถในการกระตุ้นให้ผู้อื่น พัฒนาตนเองได้และมีน้ำใจต่อเพื่อนร่วมงาน
รถยนต์พลังงานไฟฟ้าประกอบกับนโยบายของรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนส่งเสริมการใช้รถยนต์พลังงานสะอาดเพื่อลดปัญหาสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนอันเป็นผลจากภาวะโลกร้อน ฝุ่นละอองเป็นพิษ การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ในอากาศการใช้รถยนต์พลังงานสะอาดจากอุตสาหกรรมรถยนต์จึงได้รับการผลักดันให้เป็นเจ้าแห่งอุตสาหกรรมการผลิตและส่งออกรถยนต์พลังงานไฟฟ้าอีกทั้งได้รับการสนับสนุนให้ผู้บริโภคมองเห็นความสำคัญและมีทัศนะต่อการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ผลจากการพัฒนาดังกล่าวทำให้มีการเปลี่ยนผ่านของระบบนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่มีความทันสมัยปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ ทางสุนทรียทัศน์มากขึ้น
การประกอบการอาชีพและการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
หลักสูตรได้กำหนดแผนการรับนักเรียน นักศึกษาตามความต้องการของตลาดแรงงาน ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นในการพัฒนาคุณภาพนักเรียน นักศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเพื่อเปิดรับสมัครนักเรียน นักศึกษา โดยกระแสความนิยมยานยนต์พลังงานไฟฟ้า 100% หรือ รถ EV (Electric Vehicle) ในช่วงหลายปีมานี้ มีมากขึ้นเป็นลำดับ เพราะรถ EV เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดการเกิดฝุ่น pm 2.5 ลดการใช้พลังงานน้ำมัน และประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้แก่รถยนต์ได้มากกว่า หากเทียบกับการใช้รถน้ำมัน การจัดการเรียนการสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จึงเป็นการพัฒนานักเรียน นักศึกษาในสาขาวิชาเทคนิคยานยนต์ไฟฟ้า ให้เป็นผู้ที่มีคุณภาพ ดังนั้นผู้สำเร็จการศึกษา จึงสามารถประกอบอาชีพได้อย่างหลากหลาย ดังนี้
1.ประกอบอาชีพด้านอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์สมัยใหม่ เช่น ผู้ออกแบบเครื่องจักรกลอัตโนมัติ ช่างประกอบยานยนต์ นักวิจัยทางด้านอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ นักปฏิบัติการออกแบบ ทดสอบ งานทางด้านอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ นักปฏิบัติการควบคุมการติดตั้งระบบงานทางด้านอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่
2. วิศวกรยานยนต์ประจำโรงงาน วิศวกรอำนวยการผลิต วิศวกรควบคุมคุณภาพสินค้า วิศวกรควบคุมหรือซ่อมบำรุงเครื่องจักรกลภายในโรงงานทางด้านอุตสากรรมยานยนต์
3. วิศวกรออกแบบ ทดสอบ งานทางด้านยานยนต์
4. วิศวกรควบคุมการติดตั้งระบบงานทางด้านยานยนต์
5. วิศวกรการขายหรืองานบริการทางด้านเทคนิคในอุตสาหกรรมยานยนต์ วิศวกรประจำทีมการแข่งขัน หรือฝ่ายจัดการแข่งขันทางด้านยานยนต์
6. อาจารย์ / นักวิชาการและนักวิจัยทางด้านวิศวกรรมยานยนต์
7. ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมบริการทางด้านยานยนต์
8. ประกอบอาชีพอื่นๆ เช่น ผู้ประกอบการธุรกิจบริการด้านยานยนต์สมัยใหม่
การศึกษาต่อได้หลากหลายดังต่อไปนี้
1. ระดับปริญญาตรี
1.1 หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่สาขาวิชาเทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
1.2 หลักสูตรวิศวกรรมยานยนต์ไฟฟ้า สาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์และระบบอัตโนมัติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
1.3 หลักสูตรยานยนต์ไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.)
1.4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมยานยนต์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
1.5 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมยานยนต์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
1.6 วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาเทคโนโลยีวิศวกรรมยานยนต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
1.7 วิทยาลัยนานาชาติ สาขาวิศวกรรมยานยนต์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
1.8 คณะวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมยานยนต์ มหาวิทยาลัยรังสิต
1.9 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมยานยนต์ มหาวิทยาลัยสยาม
1.10 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมยานยนต์ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
จากรายงานความต้องการกำลังคนของ EEC พบว่า ความต้องการแรงงานในสาขาอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคตมีความต้องการแรงงานในปี 2562-2566 จำนวน 53,738 อัตรา ในปี 2564 – 2568 ความต้องการเปลี่ยนแปลงเป็น 38,726 อัตรา ซึ่งต่ำกว่าที่ที่คาดการณ์ไว้เดิมจำนวน 15,012 อัตรา อันเนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งในปัจจุบันวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบเปิดทำการเรียนการสอนในสาขาวิชาเทคนิคเครื่องกล สาขางานเทคนิคยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งหลักสูตรยังไม่ตอบสนองต่อความต้องการของสถานประกอบการ อีกทั้งจำนวนผู้สำเร็จการศึกษายังไม่เพียงพอต่ออุตสาหกรรมอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต การเปิดการจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาเทคนิคยานยนต์ไฟฟ้าจึงเป็นการตอบสนองต่อผู้ประกอบการในการผลิตและพัฒนากำลังคนเข้าสู่อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่อย่างเพียงพอ
รูปภาพแสดงความต้องการบุคลากรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)