ยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle: xEV) กับอุตสาหกรรมดิจิทัล
ประเทศไทยได้มีการผลักดันให้มีการจดทะเบียนยานยนต์ใหม่ในประเทศทั้งหมดเป็นยานยนต์ ZEV ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2035 เป็นต้นไป
สถานการณ์ xEV ในประเทศไทย
ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นผู้นำด้านการผลิตและการส่งออกอุตสาหกรรมยานยนต์ในภูมิภาค ซึ่งแนวโน้มในอนาคตเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้นว่าชิ้นส่วนรถยนต์แบบที่ไทยผลิตอยู่นั้น จะลดลงเรื่อยๆ ในตลาดโลก อันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยียานยนต์เพื่อสิ่งแวดล้อม จากเชื้อเพลิงสู่พลังงานไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ (BEV) รถยนต์ประเภทไฮบริด (Hybrid) และรถยนต์เซลล์เชื้อเพลิง (FCV) รัฐบาลไทยจึงได้ให้ความสำคัญ และผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติ โดยได้รับความร่วมมือจากทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ สมาคม และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกำหนดนโยบาย ขับเคลื่อน และส่งเสริมให้เกิด การพัฒนา เตรียมความพร้อม รองรับการผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในฐานะยานยนต์ยุคใหม่ (Next generation automotive) ให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยมีการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า รวมถึงการวิจัย และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อาทิ รถโดยสารไฟฟ้า/รถโดยสารประจำทาง รถโดยสารขนาดเล็ก รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า เรือไฟฟ้า ชุดดัดแปลงยานยนต์ไฟฟ้า แบตเตอรี่ วัสดุ/อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงด้านมาตรฐานและการทดสอบยานยนต์ไฟฟ้า และการพัฒนากำลังคนอีกด้วย การส่งเสริมและพัฒนายานยนต์สมัยใหม่ในประเทศไทย
หากประเทศไทยจะรักษาความเป็นผู้นำด้านการผลิตและการส่งออกอุตสาหกรรมยานยนต์ในภูมิภาค จำเป็นต้องปรับเปลี่ยน เตรียมพร้อม และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมฯ เพื่อให้สามารถแข่งขันกับ 4 ประเทศในอาเซียน ที่ตั้งเป้าหมายจะพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าให้เป็นอันดับ 1 ของ ASEAN (ASEAN EV HUB) และจะก้าวไปสู่ลำดับ 2 ของโลก รองจากประเทศจีน เนื่องจากอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ลงทุนได้ง่าย ใช้เงินลงทุนน้อย อุปกรณ์ซับซ้อนน้อยกว่า การผลิตรถยนต์แต่ละรุ่นสามารถผลิตได้ด้วยจำนวนน้อย และมีความเป็นไปได้ที่แต่ละประเทศจะสามารถผลิตยานยนต์ไฟฟ้าร้อยละ 100 ภายใน 5-10 ปี
![]() |
การส่งเสริมให้เกิดการงาน xEV ในนานาประเทศ ไม่เพียงแต่เกิดขึ้นจากแรงผลักดันของกระแส รักษ์สิ่งแวดล้อมและประหยัดพลังงาน แนวโน้มที่หลายประเทศตั้งเป้าหมายว่าจะไม่มีรถที่ใช้เครื่องยนต์ ICE หรือยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยน้ำมันในอีกไม่เกิน 25 ปีข้างหน้า ยังส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อโครงสร้างการผลิตกับห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมรถยนต์ 1) เกิดการเปลี่ยนขั้วของประเทศผู้นำด้านพลังงานจากกลุ่มโอเปก เป็นกลุ่มประเทศที่มีแร่ลิเทียม และแร่โคบอลต์ ที่เป็นส่วนประกอบหลักของการผลิตแบตเตอรี่ 2) เกิดเปลี่ยนขั้วผู้นำด้านการผลิตรถยนต์ โดยจีนได้เร่งพัฒนาจนมีจำนวนรถยนต์ EV มากที่สุดหรือกว่า 30% ของตลาดโลก 3) เกิดการผสมผสานของบริษัทซอฟท์แวร์ และอุปกรณ์ไอทีที่ปรับตัวให้เข้ากับกระแสรถยนต์ EV อาทิ google, apple, Amazon, Microsoft, Facebook และจะเห็นการร่วมทุนระหว่างบริษัทผู้ผลิตรถยนต์กับบริษัทด้านเทคโนโลยี เช่น Tesla กับ Panasonic เนื่องจากรถยนต์ในอนาคตไม่เพียงแต่เป็นพาหนะเท่านั้นยังต้องเป็นรถยนต์ที่เชื่อมต่อกับ IoT ผ่านระบบ Software ต่างๆ ให้สามารถวิเคราะห์และสื่อสาร เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ได้ในหลายหลายมิติมากขึ้น |
ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นผู้นำด้านการผลิตและการส่งออกอุตสาหกรรมยานยนต์ในภูมิภาค ซึ่งแนวโน้มในอนาคตเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้นว่าชิ้นส่วนรถยนต์แบบที่ไทยผลิตอยู่นั้น จะลดลงเรื่อยๆ ในตลาดโลก อันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยียานยนต์เพื่อสิ่งแวดล้อม จากเชื้อเพลิงสู่พลังงานไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ (BEV) รถยนต์ประเภทไฮบริด (Hybrid) และรถยนต์เซลล์เชื้อเพลิง (FCV) รัฐบาลไทยจึงได้ให้ความสำคัญ และผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติ โดยได้รับความร่วมมือจากทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ สมาคม และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกำหนดนโยบาย ขับเคลื่อน และส่งเสริมให้เกิด การพัฒนา เตรียมความพร้อม รองรับการผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในฐานะยานยนต์ยุคใหม่ (Next generation automotive) ให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยมีการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า รวมถึงการวิจัย และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อาทิ รถโดยสารไฟฟ้า/รถโดยสารประจำทาง รถโดยสารขนาดเล็ก รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า เรือไฟฟ้า ชุดดัดแปลงยานยนต์ไฟฟ้า แบตเตอรี่ วัสดุ/อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงด้านมาตรฐานและการทดสอบยานยนต์ไฟฟ้า และการพัฒนากำลังคนอีกด้วย การส่งเสริมและพัฒนายานยนต์สมัยใหม่ในประเทศไทย
หากประเทศไทยจะรักษาความเป็นผู้นำด้านการผลิตและการส่งออกอุตสาหกรรมยานยนต์ในภูมิภาค จำเป็นต้องปรับเปลี่ยน เตรียมพร้อม และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมฯ เพื่อให้สามารถแข่งขันกับ 4 ประเทศในอาเซียน ที่ตั้งเป้าหมายจะพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าให้เป็นอันดับ 1 ของ ASEAN (ASEAN EV HUB) และจะก้าวไปสู่ลำดับ 2 ของโลก รองจากประเทศจีน เนื่องจากอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ลงทุนได้ง่าย ใช้เงินลงทุนน้อย อุปกรณ์ซับซ้อนน้อยกว่า การผลิตรถยนต์แต่ละรุ่นสามารถผลิตได้ด้วยจำนวนน้อย และมีความเป็นไปได้ที่แต่ละประเทศจะสามารถผลิตยานยนต์ไฟฟ้าร้อยละ 100 ภายใน 5-10 ปี
ที่มา:ยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle: xEV) กับอุตสาหกรรมดิจิทัล
https://www.depa.or.th/th/article-view/electric-vehicle-xev-07102021